top of page

เตรียมบ้านให้พร้อม!! รับหน้าฝน TOA 201 Roof Seal ทีโอเอ รูฟซีล 201

Kasem Paint Depot

ปัญหาคลาสสิคสำหรับบ้านที่มีอายุการใช้งานมาระดับนึง คือ บ้านรั่วซึม ดาดฟ้ารั่วซึม TOA 201 Roof Seal ทีโอเอ รูฟซีล 201 ออกแบบและพัฒนามาเพื่อแก้ปัญหานี้ให้ตรงจุด

ทีโอเอ 201 รูฟซีล (TOA 201 Roofseal) เป็นวัสดุกันซึมประเภทอะคริลิกที่มีความยืดหยุ่นตัวได้สูง ถึง 500% ไร้รอยต่อ กันน้ำได้ 100 % ใช้สำหรับทาเคลือบผิวคอนกรีต เพื่่อป้องกันการรั่วซึม ช่วยปกปิด รอยแตกร้าวของคอนกรีต ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี สามารถทนต่อแสงแดด ทนต่อ สภาพอากาศที่รุนแรง และรับแรงเสียดสีจากการสัญจรได้

การใช้งาน คุณประโยชน์ 201 รูฟซีล

TOA 201 Roof Seal ทีโอเอ รูฟซีล 201เป็นวัสดุกันซึมประเภทอะคริลิกที่มีความยืดหยุ่นตัวได้สูง ทีโอเอ 201 รูฟซีล เหมาะสำหรับใช้ในงานกันซึมในพื้นผิวต่างๆ เช่น - ดาดฟ้าคอนกรีต - ผนังคอนกรีตและผนังก่ออิฐฉาบปูน - ผนังกันดิน - รางระบายน้ำคอนกรีต - กระเบื้องหลังคาใยหิน - หลังคาเหล็ก สังกะสี เป็นต้น - หลังคาที่มียางมะตอย :

TOA 201 Roof Seal ทีโอเอ รูฟซีล 201 มีคุณประโยชน์ดังนี้คือ

คุณประโยชน์ของฟิล์มเปียก

- สามารถแทรกซึมเข้าสู่รอยแตกร้าวได้ดี

- สามารถใช้งานได้ในช่วงของอุณหภูมิที่กว้าง

- ใช้งานกับลูกกลิ้ง แปรงทาสีและการพ่นได้

- ปราศจากสารพิษ ไม่ผสมสารปรอทและตะกั่ว ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คุณประโยชน์ของฟิล์มแห้ง

- ระบบกันซึมชนิดไร้รอยต่อ กันน้ำเข้าได้ 100 %

- ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหารอยแตกร้าวของคอนกรีตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมิได้เป็นอย่างดี

- ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี

- ทนแสงแดด ทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรง และรับแรงเสียดสีจากการสัญจรได้เป็นอย่างดี

- ระยะเวลาการแห้งตัวและทาทับได้ภายใน 2 – 4 ชั่วโมงที่อุณหภูมิปกติ - หลังจากการทาไปแล้ว 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิปกติจึงสามารถใช้งานได้

ระบบการใช้งาน TOA 201 Roof Seal ทีโอเอ รูฟซีล 201

วิธีการใช้งาน

- พื้นผิวที่จะทาเคลือบด้วยทีโอเอ 201 รูฟซีล จะต้องล้างทำความสะอาดปราศจากฝุ่นผง เชื้อรา ตะไคร่น้ำ สี และเศษสิ่งสกปรกต่างๆ แล้วทิ้งให้แห้ง

- บริเวณที่เกิดเชื้อราหรือตะไคร่น้ำ ควรขัดล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา ทีโอเอ 113 ไมโครคิล ให้สะอาด ทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง แล้วทาเคลือบด้วยทีโอเอ 201 รูฟซีล - บริเวณผิวที่มีสีเก่าหรือที่มีวัสดุกันซึมเดิมที่เสื่อมสภาพ ควรขัดแซะออกให้หมดแล้วล้างด้วยน้ำ สะอาดอีกครั้งแล้วทิ้งให้แห้ง 24 ชั่วโมง

- บริเวณที่มีรอยแตกร้าวให้ซ่อมรอยแตกร้าวด้วยทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์ แล้วทิ้งให้แห้งสนิท แล้วทาเคลือบด้วยทีโอเอ 201 รูฟซีล

- แต่ถ้าหากพื้นผิวมีปัญหาหลุดล่อนให้ซ่อมด้วยปูนซีเมนต์สำหรับฉาบซ่อมโดยเฉพาะหรือซ่อม ด้วยปูนทรายผสมกับทีโอเอ 112 ซุปเปอร์บอนด์ก่อน แล้วทาเคลือบด้วยทีโอเอ 201 รูฟซีล

- กรณีพื้นผิวเหล็กหรือโลหะ หากมีสนิมให้ขัดสนิมออกก่อน การเตรียมพื้นผิว

- เปิดฝาภาชนะที่บรรจุ กวนทีโอเอ 201 รูฟซีล ให้เข้ากันดีก่อนนำมาใช้งาน

- ใช้ทีโอเอ 201 รูฟซีล ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 3:1 ทาเป็นชั้นรองพื้นจำนวน 1 เที่ยวแล้วทิ้งให้ แห้งเป็นเวลา 2 – 4 ชั่วโมง ในกรณีที่เป็นพื้นผิวเหล็กหรือโลหะ ให้ทารองพื้นกันสนิม ทีโอเอ รัสท์เทค จำนวน 1 เที่ยว เพื่อเสริมการยึดเกาะ แล้วทิ้งให้ 8 ชั่วโมง

- หลังจากที่ชั้นรองพื้นแห้งแล้วให้ทาทีโอเอ 201 รูฟซีล โดยไม่ต้องผสมน้ำ ด้วยแปรงหรือลูกกลิ้ง ในชั้นที่ 1 แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง 2 – 4 ชั่วโมง

- ทาทีโอเอ 201 รูฟซีลในชั้นที่ 2 ทับอีกครั้ง

- ในกรณีที่มีรอยต่อหรือรอยแตกร้าวนั้น ให้ซ่อมแซมอุดรอยร้าวก่อนและให้ทำการปูทับด้วยทีโอเอ ไฟเบอร์เมชระหว่างรอยต่อหรือรอยแตกร้าวนั้นเพื่อเสริมความแข็งแรง หลังจากที่ทาชั้นรองพื้น ขณะที่ยังเปียกอยู่ให้ฝังตาข่าย ไฟเบอร์ลงไปในเนื้อของทีโอเอ 201 รูฟซีล โดยระวังอย่าให้ย่น หรือพับ จากนั้นค่อยทาทีโอเอ 201 รูฟซีล ทับอีก 2 – 3 ครั้ง

- แนะนำให้ทาเกินขึ้นไปบริเวณแนวพื้นดาดฟ้าถึงผนังกันตก เป็นแนวบัว

- สำหรับพื้นผิวคอนกรีตใหม่ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 28 วัน และผิวปูนฉาบใหม่ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 7 วัน ก่อนที่จะทาเคลือบด่วยทีโอเอ 201 รูฟซีล เพื่อให้ผิวคอนกรีตบ่มตัวก่อน

- ไม่ควรทาขณะที่ฝนตก

- หลังจากทาทีโอเอ 201 รูฟซีล ไปแล้ว 24 ชั่วโมง จึงสามารถใช้งานได้และจะบ่มตัวเต็มที่ในเวลา 7 วัน - ทีโอเอ 201 รูฟซีลใช้สำหรับกันซึม แต่ไม่เหมาะสำหรับจุดที่แช่น้ำหรือขังน้ำตลอดเวลา เช่น บ่อ ปลา สระว่ายน้ำและแท็งค์เก็บน้ำ

- พื้นผิวคอนกรีตใหม่ แนะนำให้ทำการขัดเรียบไว้ แต่ในกรณีที่ขัดมันเอาไว้แล้วให้ทำการเตรียม พื้นผิวโดยทำให้พื้นผิวหยาบขึ้นด้วยการขัดพื้นเพื่อเปิดผิวหรือทารองพื้นสำหรับพื้นผิวขัดมัน โดยเฉพาะ ทีโอเอ เพเนเทตรติ้ง ซิลเลอร์ เพื่อเสริมการยึดเกาะ

- ล้างเครื่องมือทันทีที่ทำงานเสร็จด้วยน้ำสะอาด

ดูวีดีโอแนะนำการใช้งาน

ดู 11,468 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page